ไม้ใหญ่หรือไม้ยืนต้น
ไม้ใหญ่หรือไม้ยืนต้น (Tree) หมายถึง ลักษณะของต้นไม้ที่มีลักษณะต้นสูงใหญ่และมีรากแก้วที่ช่วยในการค้ำจุน ไม้ยืนต้นมีอายุมากกว่า 3 ปีขึ้นไป ลักษณะของลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็งและสามารถที่แผ่กิ่งก้านสาขาออกไปได้ไกลและเป็นพุ่ม

ไม้ใหญ่หรือไม้ยืนต้น ไม้ประเภทนี้มีลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่ มีลำต้นหลัก ตั้งตรง ต้นเดียวแล้วจึงแตกกิ่งก้านบริเวณยอด โตเต็มที่สูงเกิน 5 เมตร มีอายุยืนยาวหลายปี เช่น สน เต็ง รัง แดง สัก ประดู่ นนทรี จามจุรี มะขาม ไม้ยืนต้น คือต้นไม้ที่มีลำต้นเดี่ยว ทอดสูง มีกิ่งก้านใบอยู่ตอนบนหรืออยู่ตั้งแต่กลางลำต้นขึ้นไป มีคุณสมบัติเด่นในการให้ร่มเงาและความร่มรื่น ทั้งนี้การแบ่งประเภทของไม้ยืนต้นขึ้นอยู่กับชนิดของต้นไม้นั้น ๆ หรือแบ่งตามความสูงได้ 3 ขนาด คือ สูง กลาง และต่ำ ต้นไม้นั้นมีความสูงตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป ขนาดกลางมีตวามสูง 10 เมตรลงมา และขนาดต่ำคือ 5 เมตรลงมา นอกจากนี้ไม้ยืนต้นยังมีลักษณะการขึ้นลำต้นเป็นลำเดียวและเป็นกอ (หลายลำ) ได้ด้วย
1 มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นในสกุล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์ Anacardiaceae (กลุ่มเดียวกับถั่วพิสตาชีโอและมะม่วงหิมพานต์) ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera indica เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เพราะการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลาย นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อน มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
มะม่วง | |
---|---|
มะม่วงสุกปอกเปลือกหั่นชิ้นพร้อมรับประทาน | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ถูกจัดอันดับ: | Angiosperms |
ไม่ถูกจัดอันดับ: | Eudicots |
ไม่ถูกจัดอันดับ: | Rosids |
อันดับ: | Sapindales |
วงศ์: | Anacardiaceae |
สกุล: | Mangifera |
สปีชีส์: | M. indica |
ชื่อทวินาม | |
Mangifera indica L. | |
ชื่อพ้อง | |
มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และเม็กซิโกเป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดีย ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ รวมทั้งบังกลาเทศ

2 ราชพฤกษ์ หรือ คูน ลมแล้ง ชัยพฤกษ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia fistula) เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย ศรีลังกา พม่า และ ไทย ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย
ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30-62 เซนติเมตร และกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
---|---|
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Rosopsida |
อันดับ: | Fabales |
วงศ์: | Fabaceae |
วงศ์ย่อย: | Caesalpinioideae |
เผ่า: | Cassieae |
สกุล: | Cassia |
สปีชีส์: | C. fistula |

3.ขนุน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Artocarpus heterophyllus หรือ A. heterophylla) ภาคอีสานเรียกบักมี่ ภาคเหนือเรียกบ่าหนุน สิบสองปันนาเรียกหมากมี่ หรือ หมากหนุน กาญจนบุรีเรียกกระนู ภาษาไทใหญ่เรียก ลาง เป็นไม้ผลยืนต้นในวงศ์ Moraceae มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และแพร่หลายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และได้รับความนิยมมากในคาบสมุทรมลายู ไม่ปรากฏว่าเข้ามายังประเทศไทยเมื่อใด แต่มีกล่าวถึงในเอกสารโบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ชื่อสามัญของขนุนในภาษาอังกฤษคือ jackfruit มาจากภาษาโปรตุเกส jaka ที่เพี้ยนมาจากภาษามลายู chakka หรือภาษามาลายาลัม chakka(ചക്ക) ในขณะที่ยูกันดาในทวีปแอฟริกาเรียกว่า ไข่ช้าง เนื่องจากขนุนมีผลขนาดใหญ่ ขนุนเป็นผลไม้ที่มีผลขนาดใหญ่ที่สุดในโลก นานๆครั้งถึงจะมีผลที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 25 ซม.
ขนุน | |
---|---|
![]() | |
ผลของขนุน | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Rosales |
วงศ์: | Moraceae |
สกุล: | Artocarpus |
สปีชีส์: | A. heterophyllus |
ชื่อทวินาม | |
Artocarpus heterophyllus Lam. |

อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99
4.มะขาม เป็นไม้เขตร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน ต่อมามีการนำเข้ามาในประเทศแถบเขตร้อนของเอเชียและประเทศแถบลาตินอเมริกา และในปัจจุบันมีมากในเม็กซิโก
ชื่อมะขามในภาคต่าง ๆ เรียก มะขามไทย ภาคกลาง ขาม ภาคใต้ ตะลูบ โคราช ม่วงโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) อำเปียล เขมร จังหวัดสุรินทร์ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า tamarind ซึ่งมาจากภาษาอาหรับ:تمر هندي (tamr hindī) แปลว่า Indian date
มะขามเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานและดอกไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ มะขามในไทยมีสองชนิดคือมะขามเปรี้ยวและมะขามหวาน โดยมะขามหวานมีหลายพันธุ์เช่น พันธุ์น้ำผึ้ง อินทผลัม หมื่นจง สีทอง ในบางครั้งจะเรียกมะขามตามลักษณะของฝัก เช่น มะขามขี้แมว คือมะขามฝักกลม มะขามกระดาน คือมะขามฝักแบน มะขามข้อเดียวคือมะขามที่ฝักมีข้อเดียวออกกลมป้อม
มะขาม | |
---|---|
มะขาม | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Fabales |
วงศ์: | Fabaceae |
สกุล: | Tamarindus |
สปีชีส์: | T. indica |
ชื่อทวินาม | |
Tamarindus indica |
5.มะขามป้อม หรือ มะขามป้อมอินเดีย (อังกฤษ: Indian gooseberry, Emblic; ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllanthus emblica) เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ Phyllanthaceae เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และมีคุณค่าทางสมุนไพรด้วย มะขามป้อมเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ กันโตด (เขมร - กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)[2]
มะขามป้อมจัดเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงที่สุด ในบรรดาผลไม้ทั้งหมด เพราะมะขามป้อมลูกเล็กๆเพียงลูกเดียว ให้วิตามินซีสูงกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12 เท่า และมากกว่าน้ำส้มคั้นถึง20 เท่า
มะขามป้อม | |
---|---|
![]() | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Malpighiales |
วงศ์: | Phyllanthaceae |
เผ่า: | Phyllantheae |
เผ่าย่อย: | Flueggeinae |
สกุล: | Phyllanthus |
สปีชีส์: | P. emblica |
ชื่อทวินาม | |
Phyllanthus emblica L.[1] | |
ชื่อพ้อง | |
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-12 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกนอกสีน้ำตาลอบเทา ผิวเรียบหรือค่อนข้างเรียบ เปลือกในสีชมพูสด ใบเดี่ยว มีลักษณะคล้ายใบประกอบคล้ายใบมะขาม รูปขอบขนานติดเรียงสลับ กว้าง 0.25-0.5 ซม.ยาว 0.8-12 ซม. สีเขียวอ่อนเรียงชิดกัน ใบสั้นมาก เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน
ดอกขนาดเล็กแยกเพศ แต่อยู่บนกิ่งหรือต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบ 3-5 ดอกแน่น ตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 6 กลีบ ดอกสีขาวหรือขาวนวล ผลทรงกลมมีเนื้อหนา 1.2-2 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีเขียวอ่อนค่อนข้างใส มีเส้นริ้วๆ ตามยาว สังเกตได้ 6 เส้น เนื้อผลรับประทานได้มีรสฝาดเปรี้ยว ขมและอมหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมี 6 เส้น เมล็ดมี 6 เมล็ด

6.มะยม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllanthus acidus) ภาคอีสานเรียกว่า หมากยม ภาคใต้เรียกว่า ยม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล แตกกิ่งที่ปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย ใบประกอบ มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ติดผลเป็นพวง ผลมีสามพูชัดเจน เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด มีทั้งพันธุ์เปรี้ยวและพันธุ์หวาน ซึ่งมีรสหวานอมฝาด[1] ผลจะอ่อนนุ่มเมื่อสุก จึงเก็บเกี่ยวก่อนผลจะหล่นจากต้น ถิ่นกำเนิดอยู่ที่เอเชียใต้และอเมริกันเขตร้อน
มะยม | |
---|---|
มะยมในอินเดีย | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | พืชดอก Magnoliophyta |
ชั้น: | พืชใบเลี้ยงคู่ Magnoliopsida |
อันดับ: | Malpighiales |
วงศ์: | Phyllanthaceae |
เผ่า: | Phyllantheae |
เผ่าย่อย: | Flueggeinae |
สกุล: | Phyllanthus |
สปีชีส์: | P. acidus |
ชื่อทวินาม | |
Phyllanthus acidus (L.) Skeels. | |
ชื่อพ้อง | |
พืชชนิดนี้พบได้ทั่วเอเชีย และพบปลูกตามบ้านในแคริบเบียน อเมริกากลาง และอเมริกาใต้[3]กระจายพันธุ์ข้ามมหาสมุทรอินเดียไปจนถึงมอริเชียส และข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปจนถึงฮาวาย[4][5] แพร่กระจายไปจนถึงภูมิภาคทะเลแคริบเบียนเมื่อ พ.ศ. 2336 โดยวิลเลียมไบลก์นำมะยมจากติมอร์ไปยังจาเมกา[5]พืชชนิดนี้พบได้ทั่วไปในกวม อินโดนีเซีย เวียดนามใต้ ลาว ตอนเหนือของคาบสมุทรมลายู และอินเดีย[4][3]ยังคงพบพืชชนิดนี้ในฟิลิปปินส์ ไทย กัมพูชา และฮาวาย[4] พบเห็นได้ในเปอร์โตริโก เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ เม็กซิโก โคลอมเบีย เวเนซุเอลา สุรินาเม เปรู และบราซิล

7.มะกอก หรือ มะกอกป่า ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ ได้แก่ กอกกุก, กูก (เชียงราย); กอกหมอง (เงี้ยว – ภาคเหนือ); ไพแซ (กะเหรี่ยง – เชียงใหม่) เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชีย ตั้งแต่อินเดีย มาเลเซียจนถึงอินโดนีเซีย เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สูงถึง 25 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านเลี้ยงไม่มีขน เปลือกเรียบสีเทาแตกเป็นร่องเล็กน้อย เปลือกข้างในมีริ้วสีชมพูสลับขาว ใบประกอบ มีใบย่อย 3 – 5คู่ ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรุปขอบขนาน หรือรูปหอก ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบแหลมหรือเบี้ยว ดอกออกเป็นช่อสีขาวตามปลายกิ่ง แต่ละดอกมีขนาดเล็ก มี 5 กลีบเกสรมีตัวเมียแยกเป็นสี่แฉก ผลสดมีเนื้อฉ่ำน้ำ ลักษณะรูปไข่หรือรูปรี เมื่อสุกผลสีเหลืองหม่น มีรอยแต้มสีน้ำตาลทั่วผล
มะกอกเป็นพืชที่ให้ผลตลอดปี ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถขึ้นได้โดยทั่วไป พบในป่าเบญจพรรณและป่าแดงทั่วไป ขึ้นได้ดินแทบทุกชนิด และเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่ชุมชื่น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ซึ่งอาจปลุกลงหลุมได้
มะกอก | |
---|---|
S. mombin, fruiting. | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Sapindales |
วงศ์: | Anacardiaceae |
สกุล: | Spondias |
สปีชีส์: | S. mombin |
ชื่อทวินาม | |
Spondias mombin L. | |
ชื่อพ้อง | |
Spondias lutea L.
|
8.ลำไย ชื่อวิทยาศาสตร์: Dimocarpus longan (มักเขียนผิดเป็น ลำใย) มีชื่อเรียกทางพื้นบ้านภาคเหนือว่า "บ่าลำไย" ชื่อภาษาอังกฤษว่า Longan อยู่ในวงศ์ Sapindaceae เป็นพืชไม้ผลเขตร้อนและกึ่งร้อน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสีน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อ สีขาวครีม ผลทรงกลมเป็นช่อ ผลดิบเปลือกสีน้ำตาลอมเขียว ผลสุกสีน้ำตาลล้วน เนื้อลำไยสีขาวหรือชมพูอ่อน เมล็ดสีดำเป็นมัน เนื้อล่อนเม็ด
ลำไย | |
---|---|
![]() | |
ลำไยออกผลเป็นพวง | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Sapindales |
วงศ์: | Sapindaceae |
สกุล: | Dimocarpus |
สปีชีส์: | D. longan |
ชื่อทวินาม | |
Dimocarpus longan Lour. |

9.ทุเรียน เป็นไม้ผลในวงศ์ฝ้าย (Malvaceae) ในสกุลทุเรียน (Durio)[2][1] (ถึงแม้ว่านักอนุกรมวิธานบางคนจัดให้อยู่ในวงศ์ทุเรียน (Bombacaceae)[3]ก็ตาม[1]) เป็นผลไม้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้[4][5][6] ผลทุเรียนมีขนาดใหญ่และมีหนามแข็งปกคลุมทั่วเปลือก อาจมีขนาดยาวถึง 30 ซม. และอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวถึง 15 ซม. โดยทั่วไปมีน้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม ผลมีรูปรีถึงกลม เปลือกมีสีเขียวถึงน้ำตาล เนื้อในมีสีเหลืองซีดถึงแดง แตกต่างกันไปตามสปีชีส์
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีกลิ่นเฉพาะตัว ซึ่งเป็นส่วนผสมของสารระเหยที่ประกอบไปด้วยเอสเทอร์ คีโตน และสารประกอบกำมะถัน บางคนบอกว่าทุเรียนมีกลิ่นหอม ในขณะที่บางคนบอกว่ามีกลิ่นเหม็นรุนแรงจนถึงขั้นสะอิดสะเอียน ทำให้มีการห้ามนำทุเรียนเข้ามาในโรงแรมและการขนส่งสาธารณะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง ทั้งยังอุดมไปด้วยกำมะถันและไขมัน จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเป็นเบาหวาน
ทุเรียน | |
---|---|
![]() | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ถูกจัดอันดับ: | Angiosperms |
ไม่ถูกจัดอันดับ: | Eudicots |
ไม่ถูกจัดอันดับ: | Rosids |
อันดับ: | Malvales |
วงศ์: | Bombacaceae(Malvaceae) |
วงศ์ย่อย: | Helicteroideae |
สกุล: | Durio L. |
สปีชีส์ | |
จัดจำแนกแล้วมากกว่า 30 สปีชีส์
| |
ชื่อพ้อง | |
Lahia Hassk.[1]
|

อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99
10.มังคุด ชื่อวิทยาศาสตร์: Garcinia mangostana Linn. เป็นพันธุ์ไม้ไม่ผลัดใบเขตร้อนชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ แพร่กระจายพันธุ์ไปสู่หมู่เกาะอินดีสตะวันตกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 แล้วจึงไปสู่ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส ปานามา เอกวาดอร์ ไปจนถึงฮาวาย ในประเทศไทยมีการปลูกมังคุดมานานแล้วเช่นกัน เพราะมีกล่าวถึงในพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 นอกจากนั้น ในบริเวณโรงพยาบาลศิริราชยังเคยเป็นที่ตั้งของวังที่มีชื่อว่า "วังสวนมังคุด" ในจดหมายเหตุของราชทูตจากศรีลังกาที่เข้ามาขอพระสงฆ์ไทย ได้กล่าวว่ามังคุดเป็นหนึ่งในผลไม้ที่นำออกมารับรองคณะทูต
มังคุด | |
---|---|
![]() | |
Mangosteen fruit | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Malpighiales |
วงศ์: | Clusiaceae |
สกุล: | Garcinia |
สปีชีส์: | G. mangostana |
ชื่อทวินาม | |
Garcinia mangostana L. |

ผู้จัดทำ
นายภานุพงษ์ กาดกลางดอน
ชั้น ม ๕/๑ เลขที่ ๘
โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ ๒
เสนอ คุณครูกรองทิพย์ กล้าผจญ
นายภานุพงษ์ กาดกลางดอน
ชั้น ม ๕/๑ เลขที่ ๘
โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ ๒
เสนอ คุณครูกรองทิพย์ กล้าผจญ