วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การถนอมอาหาร


บทคัดย่อ
     
       เนื่องจากในปัจจุบันเนื้อหมูที่ซื้อมาไม่สามารถเก็บไว้ได้นานตามความต้องการของมนุษย์ จึงต้องมีการคิดวิธีการที่จะทำให้เนื้อหมูสามารถอยู่ได้นานขึ้น เพื่อไม่ให้สินเปลืองกับเงินที่ซื้อเนื้อหมูแล้วเนื้อหมูเน่าเสีย และยังลดปัญหาการทะเลาะของแม่ค้าและผู้ประกอบอาหารอีกด้วย
        หมูแดดเดียวเป็นอาหารที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะสมัยก่อนไม่มีตู้เย็นหรือตู้แช่เนื้อ สมัยนั้นได้หมูมาก็คิดวิธีการถนอมอาหารเพื่อจะได้เก็บเนื้อนี้ไว้ได้นานเพื่อได้เก็บเนื้อ จึงนำเนื้อมาเป็นเนื้อแดดเดียว มีส่วนประสมแค่เกลือหรือพริกไทยป่น คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วนำไปตากแดด แล้วนำมาทอด ทานกับข้าวเหนี่ยวหรือข้าวสวย แต่ในปัจจุบันนี้ได้ทีการดัดแปลงสูตรที่แปลกใหม่หลายๆสูตร เช่น หมูแดดเดียวสมุนไพร หมูแดดเดียวโรยงาและได้ทดสอบการทำหมูแดดเดียวแล้วประสบผลสำเร็จในการทำหมูแดดเดียว
       กลุ่มของพวกเราจึงได้คิดการถนอมเนื้อสัตว์ ขึ้นมา เพื่อทำให้เนื้อหมูอยู่ได้นาน ในการดำเนินชีวิตประจำวันต้องใช้เนื้อหมูในการประกอบอาหาร เพราะเหตุผลนี้จึงได้คิดวิธีการถนอมอาหารขึ้นมา
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
        การถนอมอาหาร หมายถึงกระบวนการเก็บและรักษาอาหาร เพื่อชะลอการเน่าเสียของอาหาร หรือป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ ในขณะที่ยังรักษาคุณค่าทางโภชนาการ สีสัน และกลิ่นให้คงอยู่
         การถนอมอาหารโดยวิธีตากแห้ง เป็นกระบวนการลดน้ำ หนักของอาหารทำให้อาหารมีน้ำหนักเบาขึ้น โดยใช้ตัวกลางทำหน้าที่ถ่ายเท ความร้อนจากบรรยากาศไปสู่อาหารที่มีความชื้นอยู่โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง แล้วรับ ความชื้นจากอาหารระเหยไปสู่บรรยากาศภายนอกอาหาร ทำให้อาหารมี ความชื้นลดลงไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดแห้งเป็นอาหารแห้ง โดยทั่ว ๆ ไปอากาศ จะมีบทบาทสำคัญ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายเทความร้อนและความ ชื้นดังกล่าว หลักเกณฑ์การถนอมอาหารตากแห้งคือ จะต้องลด ยับยั้ง และป้องกันปฏิกิริยาทางเคมีทั้งหลายและการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ทุกชนิด เพื่อให้ได้อาหารตากแห้งที่เก็บได้นาน ไม่บูดเน่าเพราะการเจริญเติบโตของ จุลินทรีย์ หรือไม่มีสารเคมีตกค้างเนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างกรรมวิธี เตรียมการผลิต หรือระหว่างการเก็บ เช่น ผักหรือผลไม้ต้องลวกน้ำร้อนก่อน นำไปตากแห้ง เพื่อหยุดปฏิกิริยาเอนไซม์และลดปริมาณแบคทีเรียที่มีอยู่ เป็นต้น

ตากด้วยแสงแดด
       วิธีนี้เป็นวิธีที่เก่าแก่ที่สุด ทำกันมาตั้งแต่ สมัยโบราณและยังคงทำกันอยู่ จนถึงปัจจุบัน เพราะว่าวิธีนี้เสียค่าใช้จ่ายน้อย ใช้อุปกรณ์น้อย และกรรมวิธีตากแห้งก็ง่าย จึงยังคง เป็นวิธีที่เหมาะสม สำหรับอุตสาหกรรมในครัวเรือนซึ่งปัจจุบันมีเตาอบพลังแสงอาทิตย์ ที่สะดวกและปลอดภัยจากการไต่ตอมของแมลงขณะตาก ด้วยตู้อบแสงอาทิตย์ใช้ในครัวเรือน มาตราส่วน 1:20

บทที่ 3
วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการดำเนินการ

วัสดุอุปกรณ์
เนื้อหมู 1 กิโลกรัม
กระเทียม 1 หัวครึ่ง
รากผักชี 5-6 ราก
พริกไทย 2 ช้อนชา
น้ำตาล 4 ช้อนชา
น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
ซอสหอยนางรม 4 ช้อนโต๊ะ

วิธีการดำเนินการ

1. ล้างเนื้อหมูให้สะอาด นำเนื้อหมูมาแล่ เป็นชิ้นบางหน่อย (หนาประมาณ 1 เซนติเมตร) แต่อย่าบางมาก ถ้าบางมากไป เวลานำไปตากแดดจะแห้งมากเกินไป เนื้อหมูบางส่วนอาจท่อนเป็นชิ้นๆด้วยก็ได้
2. โขลกกระเทียม รากผักชี พริกไทยให้ละเอียด ได้ที่แล้วนำไปหมักเนื้อหมู
3.จากนั้นเติมน้ำตาล, น้ำปลา, ซอสหอยนางรม, และผงปรุงรส ลงไป
4.คลุกเคล้าหรือนวดด้วยมือจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี และทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง
5.นำเนื้อหมูไปตากแดดไว้ประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง กลับเนื้อหมูบ้างเป็นระยะ  (โดยตากแดดไปสัก 2 ชั่วโมงเนื้อหมูด้านหนึ่งจะแห้งก็ทำการกลับเนื้อหมูแล้วตากอีกด้านไปอีก 2 ชั่วโมง)

บทที่ 4
ผลการศึกษาค้นคว้า

         จากการศึกษาการทำโครงงาน การถนอมอาหาร การทำหมูแดดเดียว ในการจัดทำโครงงานครั้งนี้      
         ผู้จัดทำได้ความรู้การถนอมอาหารได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทำหมูแดดเดียวได้ศึกษาวิธีการทำหมูแดดเดียว ได้นำหมูมาแปรรูปเพื่อเป็นการถนอมอาหา เรื่องการทำหมูแดดเดียว ได้ทักษะในการพูดคุยกับผู้ที่รู้กว่า ได้คำแนะนำดีๆจากผู้มีประสบการณ์มาก่อน ได้ลองทำหลายครั้งจนได้ผลงานที่คิดว่าดีที่สุด ได้รู้จักอุปกรณ์และวิธีการใช้อย่างถูกวิธี ได้ความอดทนในการรอให้หมูแห้งได้ที่  จากการทำโครงงานในครั้งนี้ได้ความรู้มากยิ่งขึ้นและได้เรียนรู้การทำงานให้เป็นหมู่คณะ เป็นผู้นำและเป็นผู้ตามที่ดี โดยการยอมฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่นไม่ใช้ตัวเองเป็นหลักให้ตามทั้งที่ผู้อื่นมีข้อเสนอแนะที่ดีและมีเหตุผลมากกว่า ดิฉันและคณะจึงเห็นตรงกันว่าในการทำโครงงานนี้เราได้ความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นและยังได้เรียนรู้การเป็นผู้นำและการเป็นผู้ตามทีดีอีกด้วย

 บทที่ 5
สรุปผลการศึกษา

สรุปผล
        การนำหมูที่เหลือจากการทำอาหาร นำมาสไลด์ตากแดดเป้นการช่วยยืดอายุของอาหารได้นานขึ้นจริง ขั้นตอนการทำไม่ยากเท่าไร แต่ต้องใช้เวลาในการตาก จึงต้องมีความอดทน การตากแดดสามารถเก็บเนื้อหมูไว้ได้นานกว่าเดิม และยังเป็นการถนอมอาหารวิธีหนึ่ง

ประโยชน์ของโครงงาน
1.สามารถแปรรูปอาหารจากเนื้อหมู
2.สามารถเก็บไว้ได้นาน และยังคงคุณค่าของอาหาร
3.สามารถนำไปเป็นส่วนประกอบของอาหาร ได้

ข้อเสนอแนะ
       การทำเนื้อแดดเดียวจากการตากแดดให้แห้งอาจจะต้องใช้เวลานาน เราสามารถใช้เครื่องอบแห้งแทนได้

 บรรณานุกรม



วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

1.  ฮาร์ดแวร์ (HARDWARE) Picture               ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบของตัวเครื่องที่สามารถจับต้องได้ ได้แก่ วงจรไฟฟ้า ตัวเครื่อง จอภาพ เครื่องพิมพ์ คีร์บอร์ด เป็นต้นซึ่งสามารถแบ่งส่วนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์เป็น 4 หน่วยสำคัญ               1.1 หน่วยรับข้อมูลหรืออินพุต (Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลและโปรแกรมเข้า เครื่อง ได้แก่ คีย์บอรืดหรือแป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกน เครื่องรูดบัตร Digitizer เป็นต้น               1.2 ระบบประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU : Central Processing Unit) ทำหน้าที่ในการทำงานตามคำสั่งที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรม ปัจจุบันซีพียูของเครื่องพีซี รู้จักในนามไมโครโปรเซสเซอร์(Micro Processor) ไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณClockเมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม1ครั้ง เราเรียกหน่วยที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt)               1.3 หน่วยเก็บข้อมูล (Storage) ซึ่งสามารถแยกตามหน้าที่ได้เป็น 2 ลักษณะ คือ1.3.1  หน่วยเก็บข้อมูลหลักหรือความจำหลัก(Primary Storage หรือ Main Memory) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลเพื่อส่งออกหน่วยแสดงข้อมูลต่อไป1.3.2   หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง(Secondary Storage) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล หรือโปรแกรมที่จะป้อนเข้าสู่หน่วยความจำหลักภายในเครื่องก่อนทำการประมวลผลโดยซีพียูและเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลนั้นด้วย ปัจจุบันรู้จักในนามฮาร์ดดิสก์(Hard disk) หรือแผ่นฟร็อปปีดิสก์(Floppy Disk)                1.4 หน่วยแสดงข้อมูลหรือเอาต์พุต(Output Unit) ทำหน้าที่ในการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ได้แก่ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น ทั้ง 4ส่วนจะเชื่อมต่อกันด้วยบัส (Bus)ere to edit.
Picture

2 ซอฟต์แวร์ (SOFTWARE)

Picture
               ซอฟต์แวร์ คือโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน รวมไปถึงการควบคุมการทำงาน ของอุปกรณ์แวดล้อมต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม การ์ดอินเตอร์เฟสต่าง ๆ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นจับต้องไม่ได้ แต่รับรู้การทำงานของมันได้ ซึ่งต่างกับ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ที่สามารถจับต้องได้  ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
               2.1  ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือโปรแกรม ที่ใช้ในการควบคุมระบบการ ทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด เช่น การบูตเครื่อง การสำเนาข้อมูล การจัดการระบบของดิสก์ ชุดคำสั่งที่เขียนเป็นคำสั่งสำเร็จรูป โดยผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีมาพร้อมแล้วจากโรงงานผลิต การทำงานหรือการประมวลผลของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ระบบของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ออกแบบมาเพื่อการปฏิบัติควบคุม และมีความสามารถในการยืดหยุ่น การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
2.1.1 โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุมและติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการจัดการระบบของดิสก์ การบริหารหน่วยความจำของระบบ ถ้าขาดซอฟต์แวร์ชนิดนี้ จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ Unix Linux  DOS และ Windows (เวอร์ชั่นต่าง ๆ เช่น 95 98 XP Vista ) เป็นต้น
2.1.2  ตัวแปลภาษา (Translator) จาก Source Code ให้เป็น Object Code (แปลจากภาษาที่มนุษย์เข้าใจ ให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูง ซึ่งเป็นภาษาใกล้เคียงภาษามนุษย์ ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนที่จะนำไปประมวลผล ตัวแปลภาษาแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ คอมไพเลอร์ (Compiler) และอินเตอร์พีทเตอร์ (Interpeter) คอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งในโปรแกรมทั้งหมดก่อน แล้วทำการลิ้ง(Link) เพื่อให้ได้คำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ ส่วนอินเตอร์พีทเตอร์จะแปลทีละประโยคคำสั่ง แล้วทำงานตามประโยคคำสั่งนั้น การจะเลือกใช้ตัวแปลภาษาแบบใดนั้น จะขึ้นอยู่กับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม
2.1.3  ยูติลิตี้ โปรแกรม (Utility Program) คือซอฟต์แวร์เสริมช่วยให้เครื่องทำงานมีประสิทธิภาพ มากขึ้น เช่น ช่วยในการตรวจสอบดิสก์ ช่วยในการจัดเก็บข้อมูลในดิสก์ ช่วยสำเนาข้อมูล ช่วยซ่อมอาการชำรุดของดิสก์ ช่วยค้นหาและกำจัดไวรัส ฯลฯ เป็นต้น
2.1.4  ติดตั้งและปรับปรุงระบบ (Diagonostic Program) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อและใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาติดตั้งระบบ ได้แก่ โปรแกรมSetupและ Driver ต่าง 
               2.2  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน(Special Purpose Software)  คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการหรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ 
2.2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป(General Purpose Software) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม  ดังนั้นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Adobe Photosho, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น
Picture

3 บุคลากร (PEOPLEWARE)

Picture

               บุคลากรจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดถึงประสิทธิภาพถึงความสำเร็จและความคุ้มค่าในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งบุคลากรตามหน้าที่เกี่ยวข้องตามลักษณะงานได้ 6 ด้าน ดังนี้
               3.1  นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (Systems Analyst and Designer  :  SA) ทำหน้าที่ศึกษาและรวบรวมความต้องการของผู้ใช้ระบบ และทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ระบบและนักเขียนโปรแกรมหรือปรับปรุงคุณภาพงานเดิม  นักวิเคราะห์ระบบต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ พื้นฐานการเขียนโปรแกรม และควรจะเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
               3.2  โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือบุคคลที่ทำหน้าที่เขียนซอฟต์แวร์ต่างๆ(Software) หรือเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งงานให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
               3.3  ผู้ใช้ (User) เป็นผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นผู้ปฏิบัติหรือกำหนดความต้องการในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ว่าทำงานอะไรได้บ้าง ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป จะต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
               3.4  ผู้ปฏิบัติการ (Operator) สำหรับระบบขนาดใหญ่  เช่น เมนเฟรม  จะต้องมีเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ที่คอยปิดและเปิดเครื่อง  และเฝ้าดูจอภาพเมื่อมีปัญหาซึ่งอาจเกิดขัดข้อง  จะต้องแจ้ง System  Programmer ซึ่งเป็นผู้ดูแลตรวจสอบแก้ไขโปรแกรมระบบควบคุมเครื่องอีกทีหนึ่ง 
               3.5  ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator : DBA) บุคคลที่ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลผ่านระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งจะควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่กำหนดสิทธิการใช้งานข้อมูล พร้อมทั้งดูแลดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ให้ทำงานอย่างปกติด้วย
               3.6  ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน  เป็นผู้ที่มีความหมายต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานเป็นอย่างมาก

Picture
4 ข้อมูลและสารสนเทศ

4.1 ข้อมูล (DATA)

Picture
หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วใช้ตัวเลขตัวอักษร 
หรือสัญลักษณ์ ต่างๆ ทำความหมายแทนสิ่งเหล่านั้น เช่น
·         คะแนนสอบวิชาภาษาไทยของนักเรียน
·         อายุของพนักงานในบริษัทชินวัตรจำกัด
·         ราคาขายของหนังสือในร้านหนังสือดอกหญ้า
·         คำตอบที่ผู้ถูกสำรวจตอบในแบบสอบถาม

4.2 สารสนเทศ (INFORMATION)

Picture
หมายถึง ข้อสรุปต่างๆ ที่ได้จากการนำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ หรือผ่านวิธีการที่ 
ได้กำหนดขึ้น ทั้งนี้เพื่อนำข้อสรุปไปใช้งานหรืออ้างอิง เช่น
·         เกรดเฉลี่ยของวิชาภาษาไทยของนักเรียน
·         อายุเฉลี่ยของพนักงานในบริษัทชินวัตรจำกัด
·         ราคาขายสูงสุดของหนังสือในร้านหนังสือดอกหญ้า
·         ข้อสรุปจากการสำรวจคำตอบในแบบสอบถาม

5  กระบวนการทำงาน (PROCEDURE)

Picture











อ้างอิง 
https://srcom608.weebly.com/